วันพุธที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2558

สัญลักษณ์ คำขวัญ และตันไม้ จังหวัดกาฬสินธุ์



คำขวัญกาฬสินธุ์

        คำขวัญของจังหวัดกาฬสินธุ์ คือ  "เมืองฟ้าแดดสงยาง โปงลางเลิศล้ำ วัฒนธรรมผู้ไทย ผ้าไหมแพรวา ผาเสวยภูพาน มหาธารลำปาว ไดโนเสาร์สัตว์โลกล้านปี"



ตราประจำจังหวัด รูปบึงใหญ่ ตฤณชาติ และเมฆพยับฝน หมายถึง สัญลักษณ์ของความชุ่มชื้น และอุดมสมบูรณ์ของภูมิภาคนี้ ทิวเขาตรงสุดขอบฟ้าคือแนวกั้นเขตแดนกับจังหวัดใกล้เคียงน้ำในบึงที่มีสีดำเพื่อให้ตรงกับชื่อของจังหวัดกาฬสินธุ์ ตั้งเป็นเมืองใน พ.ศ. 2336 เพราะมีชาวเมืองเวียงจันทน์อพยพมาตั้งบ้านเรือนอยู่มากที่บ้านสงเปลือยทางฝั่ง ตะวันออกของริมแม่น้ำปาว ซึ่งสีน้ำในขณะนั้นขุ่นข้น จังหวัดกาฬสินธุ์แยกออกมาจากจังหวัดมหาสารคาม ใน พ.ศ. 2490




ต้นไม้ประจำจังหวัด คือ ต้นมะหาด
        เป็นไม้ยืนต้นในวงศ์ Moraceae ต้นกำเนิดจากภูมิภาคเอเชียใต้ นิยมปลูกเอาไว้ใช้ประโยชน์ทุกส่วนของต้น สามารถเจริญเติบโตได้ในดินทราย, ดินร่วนปนทราย, ดินร่วน และ ดินเหนียว มีความทนทานต่อความแห้งแล้งได้ดีมาก ชอบบริเวณที่มีความชื้นสูงและแสงแดดเข้าถึงได้น้อย มักขึ้นกระจายตามป่าดิบทั่วไป


สัญลักษณ์ คำขวัญ และต้นไม้จังหวัดกาญจนบุรี






              คำขวัญประจำจังหวัดกาญจนบุรี คือ 
"แคว้นโบราณ ด่านเจดีย์ มณีเมืองกาญจน์ สะพานข้ามแม่น้ำแคว แหล่งแร่ น้ำตก"

                         

        สัญญลักษณ์เจดีย์สามองค์ทรงป้าน เป็นศิลปแบบมอญ สูงประมาณ 6 เมตร ช่องห่างระหว่าเจดีย์ 5-6 เมตรเส้นทางสายนี้ในอดีตใช้เป็นทางเดินทัพที่สำคัญ และใกล้ที่สุดของประเทศคู่ศึก ไทยกับพม่า หากจะนับแล้วไม่ต่ำกว่า 15 ครั้ง ที่มีการยกทัพผ่านเส้นทางประวัติศาสตร์สายนี้ จากความสำคัญดังกล่าวจึงได้ใช้รูปเจดีย์สามองค์เป็นตราประจำจังหวัด และองค์การบริหารส่วนจังหวัดกาญจนบุรีเพื่อเป็นสิ่งเตือนใจสำหรับชนรุ่นหลัง ให้รำลึกถึงวีรกรรมอันห้าวหาญของบรรพชนที่ยอมเสียสละ แม้กระทั่งชีวิตในอันที่จะพิทักษ์ผืนแผ่นดินไว้


ต้นขานาง

      ต้นขานาง

             มีชื่อพื้นเมืองเรียกว่าคะนางละนางค่านางช้างเผือกหลวงเชพลูเปือยนางเปือยคะนางลิงง้อ ฯลฯเป็นไม้ยืนต้นผลัดใบ มีความสูง 15- 20เมตรลำต้นตรงเปลือกสีเทาขาวนวลยอดเป็นดุ่มทึบกิ่งอ่อนมีขนสีน้ำตาลนุ่มใบเป็นชนิดใบเดี่ยวเรียงสลับ แผ่นใบรูปไข่ กว้างประมาณ 5- 13 เซนติเมตร ยาว 10-20 เซนติเมตรในปี พ.ศ. 2537กรมป่าไม้เสนอชื่อต้นขานางเป็นพันธุ์ไม้ประจำจังหวัดกาญจนบุรี เพราะพบมากในป่าแถบ อ.ไทรโยคอ.ทองผาภูมิ อ.ศรีสวัสดิ์ อ.สังขละบุรี ในโอกาสที่รัฐบาลได้จัดงานรณรงค์
โครงการปลูกป่าถาวรเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ ทรงครบรอบปีที่50ในการครองราชสมบัติได้กราบบังคมทูลสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถเป็นองค์ประธานและพระราชทาน
ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดนำไปปลูกเป็นสิริมงคลแก่จังหวัด





สัญลักษณ์ คำขวัญ และต้นไม้จังหวัดกระบี่





        คำขวัญของกระบี่ คือ "ถิ่นหอยเก่า เขาตระหง่าน ธารสวย รวยเกาะ เพาะปลูกปาล์ม งามหาดทราย ใต้ทะเลสวยสด มรกตอันดามัน"

 

                       



             ตราของกระบี่เป็นรูปกระบี่ไขว้ เบื้องหลังมีภูเขาและทะเล กระบี่ไขว้ หมายถึง อาวุธโบราณซึ่งมีผู้ค้นพบในท้องที่จังหวัด จำนวน 2 เล่ม ภูเขา หมายถึงเทือกเขาพนมเบญจา ซึ่งเป็นภูเขาสูงสุดของกระบี่ ซับซ้อนกันถึง 5 ยอด จึงเรียกว่า พนมเบญจา มีเมฆปกคลุมตลอดเวลา และกั้นเขตแดนกับจังหวัดอื่น ทะเล หมายถึง อาณาเขตอีกด้านหนึ่งของกระบี่ ซึ่งติดกับฝั่งทะเลอันดามันหรือมหาสมุทรอินเดีย


ต้นทุ้งฟ้า


        ต้นไม้ประจำจังหวัดกระบี่ คือ ต้นทุ้งฟ้า เป็นไม้ยืนสูง 15–25 เมตร ไม่ผลัดใบ กิ่งใหญ่ตั้งฉากกับลำต้นเป็นรอบๆ เรือนยอดรูปไข่ เปลือกสีขาวอมเทามีน้ำยางสีขาว ใบเป็นใบเดี่ยว รูปหอกกลับ ปลายใบเป็นติ่งแหลม ท้องใบมีคราบสีขาว หลังใบสีเขียว ออกดอกเป็นช่อทีปลายกิ่ง กลีบดอกสีขาว หรือขาวอมเหลืองเชื่อมติดกันเป็นหลอด ออกดอกช่วง เดือนพฤศจิกายน - เดือนธันวาคม ผลเป็นฝักเรียวยาว ขนาดเล็ก




สัญลักษณ์ คำขวัญ และต้นไม้กรุงเทพ




คำขวัญของกรุงเทพมหานครคือ “กรุงเทพฯ ดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย” หลังกรุงเทพมหานครสรุปยอดคะแนนโหวตคำขวัญกรุงเทพมหานคร เมื่อวันที่ 14 พฤษภาคม พ.ศ. 2555.



         ตราของกรุงเทพมหานครเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ พระหัตถ์ทรงสายฟ้า ตรานี้กรมศิลปากรออกแบบโดยอาศัยภาพเขียนฝีพระหัตถ์ของสมเด็จกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นต้นแบบ เริ่มใช้ในปี พ.ศ. 2516 ตามประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี ตามพระราชบัญญัติเครื่องหมายราชการ พ.ศ. 2482 ฉบับที่ 60 ลงวันที่ 31 พฤษภาคม พ.ศ. 2516 (สมัยเมื่อยังเป็นจังหวัดพระนครนั้นใช้ตราพระที่นั่งจักรีมหาปราสาทเป็นตราประจำจังหวัด)


           ต้นไม้ประจำกรุงเทพมหานครคือ ต้นไทรย้อยใบแหลม (Ficus benjamina)